วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

                             ประวัติของทีมเชลซี

               Stanford Creek -> Stamford Bridge

Chelsea FC svg.png

แฟนเชลซีทุกคนโดยส่วนใหญ่จะรู้จักประวัติของเชลซีดี หรือบางคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้างก็แล้วแต่ แต่รู้มั้ย ยังมีอีกอย่างหนึ่งที่อยู่เคียงคู่ประวัติของทีมเชลซีตั้งแต่กุนซือคนแรก คือเลสลี่ ไนท์ตัน นั่นคือ สนามสแตมฟอร์ด บริดจ์ บ้านหรือสนามเหย้าของทีมเชลซีที่ถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในสนามที่ทันสมัยที่สุด

Full name : Stamford BridgeLocation : Fulham Broadway, London, EnglandBuilt : 1876Opened : 1877Renovated : 1904-5, 1990sOwner : Chelsea Pitch Owners plcOperator : ChelseaSurface : GrassArchitect : Archibald Leitch (1887)Capacity : 42,055Field dimensions : 110 x 75 yards (100 x 69 metres)Tenants : Chelsea (1905-present)

(ที่อยู่ของสแตมฟอร์ด บริดจ์ ที่เราคุ้นเคยดีคือ

StamfordBridge,Fulham Road,London,SW6 1HS ใช่มั้ยคะ

เคยมีคนงงแล้วว่า SW6 คืออะไร SW คือเขตชุมชน และบ้านของเชลซีอยู่ในเขตชุมชนที่ 6 คือ เขตชุมชนฟูแล่ม ความจริงคือ ทีมเชลซีไม่ได้อยู่ในเขตชุมชนเชลซี SW3 และ SW10

สนามสแตมฟอร์ด บริดจ์อยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า main areasof operations มีทั้งหมด 21 เขต)


สนามแห่งเดียวของเชลซีได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 พ.ค 1877 ย้อนกลับไปในอดีต บ้านของเชลซีไม่ได้ใหญ่โต สวยงาม และอบอุ่นเหมือนตอนนี้ แถมไม่ได้ชื่อนี้ด้วย ในช่วงนั้นเรียกว่า Stanford Creek บ้านของเชลซีมีเพียงสนามและที่คนดูซึ่งมีที่บังฝนความยาวไม่ยาวมากนักเท่านั้น เจ้าของเชลซีในตอนนั้นคือ Ken Bates

Ken Bates เจ้าของทีมเชลซีซื้อทีมนี้ในราคา 1m เท่านั้น

(ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 1920-1922 สนามแห่งนี้ถูกปิดชั่วคราว เพราะกลัวภัยสงครามและอาจถูกใช้เป็นที่ส่องซุมกำลังของศัตรู ซึ่งในช่วงนั้น สนามฟุตบอลเป็นสถานที่ที่กองกำลังอังกฤษระวังมากเป็นพิเศษ แต่โชคดีที่สงครามจบสิ้นลงในระยะเวลา 2 ปี)



และที่นั่งที่มีที่บังฝนขนาดไม่ยาวนี้แหล่ะที่แฟนเชลซีในช่วงนั้นเรียกว่า The Shed มีที่มาจาก Shadow ที่แปลว่า เงา นั่นเอง ส่วนที่เรียกว่า The Shed ที่มีที่ราบเป็นขั้นบันไดให้แฟนบอลนั่งดูนี้สร้างขึ้นในปี 1930

Chelsea FC svg.png

The Shed


ต่อมา The Shed ต้องถูกรื้อเพราะในช่วงนั้นเกิดโศกนาฎกรรมที่ Hillsborough ที่สนามถล่มลงมาและทำให้มีผู้เสียชีวิตมากมายตรงจุดนี้ที่ทางเชลซีมีความคิดที่จะเปลี่ยนให้ดูแข็งแรงกว่าเดิม จึงมีการสร้างใหม่ตรงทิศใต้และตั้งชื่อเป็น Shed End เพื่อเป็นที่ระลึกในปี 1990

ถึงแม้ว่า The Shed จะไม่มีแล้ว แต่จุดที่มี The Shed คือที่มาของสนามเชลซี ที่นั่งฝั่ง East Stand จึงถูกสร้างขึ้นแทนที่จุดนี้แหล่ะคือที่มาของความคิดที่จะสร้างสนามให้ดู ยิ่งใหญ่ขึ้น ที่นั่งฝั่ง East Stand จึงมีประวัติยาวนานกว่าที่นั่งทิศใดๆ ทั้ง 4 ทิศ


East Stand รุ่น 1

Chelsea FC svg.png
East Stand รุ่น 2

สนามของเชลซีมีการปรับเปลี่ยนเรื่อยมา เปลี่ยนครั้งหนึ่ง สนามของเชลซีก็ยิ่งขยายใหญ่มากขึ้น จนกระทั่งมีการ Re-design กันในช่วงปี 1997-2003 ซึ่งก่อนหน้านั้น 1 ปี โรมัน อบราโมวิช หรือเสี่ยหมีได้ซื้อทีมเชลซีต่อจากเบทส์ในราคา 140m แล้ว


สนามสแตมฟอร์ด บริดจ์แบ่งออกเป็น 4 โซน

1.East Stand หรือฉายาว่า The Shed ถูกปรับเปลี่ยนมาแล้ว 2 ครั้งอย่างที่เห็นในรูปซึ่งยิ่งเปลี่ยนก็ยิ่งดูแข็งแรงมากขึ้น เปลี่ยนครั้งแรกในสมัยกุนซือเท็ด เดร็ค และครั้งที่ 2 ในช่วงกุนซือเอ็ดดี้ แม็คเครดี้ เป็นฝั่งที่นั่งที่เก่าแก่มากที่สุดปี 1973 ที่นั่ง 10,925 ที่นั่ง

2.ในปี 1964-65 ที่นั่งฝั่ง West Stand จึงเกิดตามมา มีฉายาว่าThe Bench และถูกรื้อและสร้างใหม่เป็น The Current West Standที่นั่ง 13,500 ที่นั่ง

3.North Stand หรือฉายาว่า The Matthew Harding Standเสร็จในปี 1990 เพื่อเป็นเกียรติกับ Matthew Harding ผู้สร้างแปลนที่นั่งฝั่งเหนือให้เชลซี หลังจากที่เขาประสบอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกในวันที่ 22 ต.ค 1996 ที่นั่ง 10,884 ที่นั่ง

4.Shed End เป็นฉายาของ South Stand นับได้ว่าเป็นฝั่งที่นั่งพี่น้องของ The Shed เป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของเชลซีเพราะเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ระลึกถึงอดีต ที่นั่งจะมีน้อยคือ7,814 ที่นั่ง โดยที่ไม่มีโครงการจะขยายเพราะต้องการจะเหลือโครงเดิมแต่อดีตเอาไว้

Chelsea FC svg.png
The Original Model




จนถึงปัจจุบัน สแตมฟอร์ด บริดจ์เปลี่ยนโฉมจนไม่เหลือเค้าเดิมแต่ถึงกระนั้น ทีมเชลซีก็ยังคงเหลือเค้าอดีตให้เห็น คืออะไร นั่นคือกำแพง The Shed End เป็นหนึ่งในที่มาของสนามแสนสวยงามนั้นเอง (ความจริงเก่ากว่านั้นคือ The Shed แต่ไม่มีแล้ว) ใครที่ได้ไปบ้านเชลซีลองหาดูนะ เพราะกำแพงนี้เก็บอดีตเอาไว้มากมาย


คงจะจำกันได้ว่า มีอยู่ช่วงหนึ่งที่เสี่ยหมีกำลังมองหาที่แห่งใหม่ทำให้เกิดข่าวลือว่า จะย้ายบ้าน เพราะหากเทียบกับทีมอื่นๆ ในบิ๊กโฟร์นั้น สนามของเชลซีเล็กกว่า เสี่ยหมีจึงอยากสร้างสนามที่นั่ง55,000 อย่างไรก็ดี การหาที่ให้ใกล้กับสนามเก่าเป็นเรื่องยาก อีกทั้งมีการเรียกร้องจากแฟนบอลว่าขอไม่ให้ย้ายไปไหน

ซึ่งสอดคล้องกับเม็ดเงินมหาศาลที่เสี่ยหมีทุ่มลงไปเองก็ไม่ใช่น้อยไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงสแตมฟอร์ด บริดจ์ครั้งมโหฬาร โดยเฉพาะcobham ศูนย์ซ้อมขนาดใหญ่ของทีมเชลซีทั้ง ชุดใหญ่ ชุดสำรองและทีมเยาวชน

ถึงกระนั้นเสี่ยหมีก็ยังคิดว่ามันยังไม่พอ!!!!!!!!!

เอ่อ ลืม สนามสแตมฟอร์ด บริดจ์มีการฝังลูกแก้วนำโชคไว้ด้วยนะหากจำไม่ผิด รู้สึกว่าล่าสุดมีการเปลี่ยนที่แล้ว แต่มันก็นานมาแล้วและผลงานเชลซีก็ลุ่มๆ ดอนๆ มาตลอดไม่รู้ว่าเกี่ยวหรือเปล่าแฮะ

 หากใครสนใจและมีโอกาสได้ไปดูเกมที่สแตมฟอร์ด บริดจ์ สิ่งแรกที่เราต้องหาคือที่พักและต้องใกล้กับสแตมฟอร์ด บริดจ์ด้วย หามาด้วยแหล่ะ

1.Jurys Inn Chelsea ระดับ 3 ดาว 0.97 กิโลเมตร ถึงสนามสแตมฟอร์ดบริดจ์2.Chelsea Aelita Guest House 0.93 กิโลเมตร ถึงสนามสแตมฟอร์ดบริดจ์3.Wyndham London - Chelsea Harbour ระดับ 5 ดาว 0.95 กิโลเมตรถึงสนามสแตมฟอร์ด บริดจ์4.MILLENNIUM CHELSEA FC HOTEL ระดับ 4 ดาว 0.30กิโลเมตร ถึงสนามสแตมฟอร์ด บริดจ์5.Millennium & Copthorne Hotels at Chelsea Football Club ระดับ 4 ดาว 0.30 กิโลเมตร ถึงสนามสแตมฟอร์ด บริดจ์6.La Reserve Hotel ระดับ 3 ดาว 0.16 กิโลเมตร ถึงสนามสแตมฟอร์ดบริดจ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น